ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ บริหารงบยังไง? ตอนไหนที่กู้เงินหรือรูดบัตรได้

Last updated: 28 พ.ค. 2567  |  430 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ บริหารงบยังไง? ตอนไหนที่กู้เงินหรือรูดบัตรได้

ใครๆ ก็อยากมีบ้านที่สวยงามน่าอยู่ อยากไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้าบ้าน เปลี่ยนทุกอย่างตามใจอยาก คุมโทน คุม Style อยากซื้อทุกอย่าง อยากซื้อทุกชิ้นตามเรฟหรือไอเดียที่ตัวเองมี แต่ความเป็นจริงนั้น การที่จะแต่งบ้านใหม่ ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ยกชุดนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงไม่น้อย จนอาจเกิดความลังเลใจว่าจะซื้อดีไหม หากซื้อแล้วต้องบริการจัดการงบประมาณอย่างไรให้คุ้มค่า บทความนี้จะพาคุณผู้อ่านไปพบกับเทคนิคและข้อแนะนำดี ๆ ในการบริหารจัดการงบประมาณสำหรับการซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ตั้งแต่การจัดสรรงบ การเลือกซื้ออย่างชาญฉลาด ไปจนถึงการใช้เงินเก็บ บัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่อการตกแต่งบ้านอย่างเหมาะสม ไม่ว่าคุณผู้อ่านมีงบ มีเงินจำกัดแค่ไหน เชื่อว่าบทความเหล่านี้จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายที่อยากจะมีบ้านที่น่าอยู่แน่นอน พร้อมแล้วไปดูกันเลยว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง!


เทคนิคการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์อย่างชาญฉลาด



ตามปกติแล้ว ก่อนจะซื้อ ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าจะซื้อเฟอร์นิเจอร์อะไรบ้าง ซื้อไปทำอะไร เอาไปวางในห้องไหน แนวไหน วัสดุอะไร  แล้วค่อยเลือกว่าจะซื้อชิ้นไหน แต่ในระหว่างขั้นตอนตามที่ได้ว่า มันก็มีเทคนิค ที่แอบซ้อนอยู่ เพื่อไม่ให้เราซื้ออะไรเรื่อยเปื้อย ได้ทั้งของที่จำเป็น ไม่จำเป็น หัวข้อนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านไปดูว่า เทคนิคการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์อย่างชาญฉลาด จะมีอะไรมาแนะนำบ้าง ไปดูกันเลย


เลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นและสำคัญก่อน

เริ่มต้นด้วยการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นต้องใช้งานเป็นประจำและมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตก่อน เช่น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะทำงาน โซฟา เป็นต้น ส่วนของตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์เสริมอื่นๆ ค่อยทยอยซื้อทีหลัง


เน้นคุณภาพ ความคงทน มากกว่าราคา

การเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี มีความแข็งแรงทนทาน แม้ราคาอาจสูงกว่าปกติ แต่จะคุ้มค่ากว่าในระยะยาว เพราะไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ให้คำนวณความคุ้มค่าจากระยะเวลาที่ใช้งาน ยิ่งนานเท่าไหร่ ต้นทุนต่อวันก็จะยิ่งถูกลง เช่น

- ตู้เสื้อผ้าพลาสติก ซื้อ 1,000 บาท ใช้งาน 1 ปีพัง ตกต่อวัน = 2.7 บาท

- ตู้เสื้อผ้าไม้สักบุหวาย ซื้อ 21,600 บาท ใช้งาน 30 ปีพัง ตกต่อวัน = 2 บาท (และถ้าไม่ใช้ยังขายต่อได้อีก)


ดูคุณภาพวัสดุและฝีมือการผลิต

สังเกตวัสดุที่ใช้ผลิตว่าเป็นวัสดุแท้หรือเทียม เช่น ไม้จริง หนังแท้ หรือวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ ดูความประณีตของฝีมือการผลิต ตะเข็บ รอยต่อ ความเรียบร้อยของชิ้นงาน ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน การเลือกของที่มีคุณภาพวัสดุดี มันก็จะส่งผลให้ใช้ได้ยาวนาน และขายต่อได้ในราคาที่สูง


เลือกการตกแต่งแบบมินิมอล

หากพื้นที่ในบ้านมีจำกัด หรืออาศัยอยู่คอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัด แนะนำให้เลือกเรฟเป็นการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์มินิมอล อาจมองหาเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายด้วย จะช่วยประหยัดทั้งพื้นที่ มีจำนวนชิ้นของเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องซื้อน้อยลง และคุมงบประมาณได้


เทคนิคการซื้อสุดคุ้ม คุมงบไม่ให้บานปลาย



1. ให้เลือกช้อปช่วงมีโปรโมชัน

ช่วงเวลาที่เหมาะจะช้อปเฟอร์นิเจอร์ที่สุดคือตอนมีโปรโมชันลดราคานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ หรือช่วง End of Season ร้านเฟอร์นิเจอร์มักจะจัดรายการส่วนลด หรืออาจมีโปรผ่อน 0% หรือมีของแถมเพิ่มตามแต่โปรโมชั่นของร้านนั้นๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดี ที่จะช่วยให้เราได้เฟอร์นิเจอร์ในราคาสุดคุ้มเลยทีเดียว โดยปกติแล้วในประเทศไทยจะมีงาน Fair แทบทั้งปีอยู่แล้ว ให้ใจเย็นๆ ลองเก็บข้อมูลกันแบบยาวๆ


2. ลองประเมินว่าเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์มือหนึ่ง หรือมือสอง

เฟอร์นิเจอร์บางชิ้นก็สามารถซื้อมือสองได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์  เฟอร์นิเจอร์วินเทจหรือสไตล์คลาสสิก  หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้แท้ เช่น ไม้สัก หากดูแล้วว่าสิ่งที่เราต้องซื้อ สูงกว่างบประมาณ การเลือก เฟอร์นิเจอร์มือสองก็เป็น อีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคนงบน้อย ซึ่งราคาจะถูกกว่าของใหม่มาก แต่ต้องเลือกให้ดีว่าสภาพยังใช้ได้ดีอยู่ ไม่ชำรุดเสียหายมาก โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงหรือหนังแท้ หากได้ของคุณภาพดีมาในราคาถูก ถือเป็นความคุ้มค่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ก่อนซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสองควรตรวจสอบราคากลางจากหลายๆ ร้านก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าราคาที่ซื้อมานั้นไม่แพงจนเกินไป และข้อเสียของเฟอร์นิเจอร์มือสองคืออาจต้องซื้อเงินสด บางคนอาจจะถือการใช้ของมือสองที่ไม่รู้ที่มา การซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ด้วยการรูดบัตรอาจจะตอบโจทย์กว่าก็เป็นได้


3. ค่อยๆ ซื้อสะสมทีละชิ้น

เราไม่จำเป็นต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่อยากได้ในคราวเดียว ให้เริ่มจากของชิ้นใหญ่ที่จำเป็นก่อน เช่น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะทำงาน แล้วค่อยๆ ซื้อของอื่นๆ ก็จะทำให้ในเริ่มต้น เราซื้อของที่จำเป็นแบบคุณภาพดีๆ ได้ และค่อยทยอยซื้อของอื่นๆ ตามหลังมาเรื่อยๆ


4. ลองซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีตำหนิเล็กน้อย

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก บางร้ายที่ขายสินค้ามีตำหนิ และได้ส่วนลดพิเศษ บางครั้งอาจเป็นแค่สินค้าตัวโชว์ที่ไม่มีตำหนิเลย แต่ลดราคาเพราะเปลี่ยนซีซั่น บางครั้ง หากเราซื้อสินค้าที่ถึงแม้จะมีตำหนิ รอยขีดข่วนเล็กน้อย หรือจุดด่างเล็กๆ แต่ก็ไม่กระทบการใช้งาน ซึ่งบางครั้งสามารถซ่อมแซมเองได้ง่ายๆ เช่น ทาสีทับรอยถลอก  เทียบราคาและดูความคุ้มค่า บางครั้งสินค้ามีตำหนิอาจถูกกว่าถึง 30-50% ซึ่งหากตำหนินั้นเล็กน้อยและยอมรับได้ เราก็จะประหยัดไปได้มาก


วางแผนงบประมาณอย่างรอบคอบ



ก่อนออกไปช้อปปิ้งเฟอร์นิเจอร์ หรืออะไรที่ราคาสูงก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดงบประมาณที่ชัดเจนเอาไว้ก่อนว่าจะใช้เงินทั้งหมดเท่าไหร่ในการซื้อ หาก โดยปกติแล้ว ผู้คนจะตั้งงบสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านทั้งหมดไม่ควรเกิน 10-20% ของราคาบ้าน เช่น หากบ้านราคา 3 ล้านบาท ก็ควรตั้งงบสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไว้ที่ประมาณ 300,000-600,000 บาท เป็นต้น หลังจากเราได้งบประมาณแล้ว ให้เราต่อไปนี้


ทำรายการสิ่งที่ต้องการซื้อ

ให้เราแบ่งรายการเป็นห้องๆ และให้ลองนั่งจดรายการเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งทั้งหมดที่อยากได้ลงในกระดาษ พร้อมใส่ราคาโดยประมาณเอาไว้ด้วย จากนั้นก็มาดูว่ารายการไหนที่จำเป็นต้องซื้อก่อน ให้ดูว่า ในห้องนั้นๆ ขาดอะไรไม่ได้บ้าง และอะไรที่ยังพอซื้อรอบหน้าได้


ตัดรายการไม่จำเป็นออก (เป็นซื้อรอบหน้า)

ส่วนรายการไหนที่ยังพอรอได้ก็ค่อยๆ ตัดออกไป การทำแบบนี้จะช่วยให้เรามีภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ และช่วยลดปัญหา เวลาเราไปเดินเลือกของแล้ว ซื้อเรื่อยเปื้อย ซื้อซ้ำ ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งาน


FAQs เมื่อไหร่ควรกู้เงินหรือรูดบัตรเครดิต?



คำถาม : หากเราเพิ่งซื้อบ้าน ทำเรื่องกู้เงิน แต่ไม่มีเงินสด ควรทำอย่างไร


ตอบ : เมื่อเงินสดที่มีอยู่ไม่เพียงพอ เราอาจพิจารณากู้เงินเพิ่มเติมจากสินเชื่อบ้านได้ โดยปกติธนาคารจะอนุมัติวงเงินเพิ่มอีกประมาณ 10% จากวงเงินกู้ซื้อบ้านเป็น สินเชื่อเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ เพื่อนำมาใช้ในการตกแต่งบ้านและซื้อเฟอร์นิเจอร์ เราสามารถคุยกับธนาคาร บอกว่าเราประสงค์ที่จะขอกู้เงินเอาไว้ซื้อของแต่งบ้านเพิ่มได้


คำถาม : หากเราซื้อบ้านไว้นานแล้ว แต่อยากเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์แค่บ้างชิ้น แต่ไม่มีเงินสดทำอย่างไร


ตอบ : หากมีบัตรเครดิต ให้ซื้อและเลือกการผ่อน การชำระผ่านบัตรเครดิตเป็นอีกทางเลือกที่สามารถใช้ได้ เพราะช่วยให้เราสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายออกเป็นงวดๆ ได้ และยังมีโปรเช่น ดอก 0% สะสมคะแนนได้ ได้ Cashback เป็นต้น  แต่เราต้องมีวินัยในการวางแผนผ่อนชำระให้ตรงตามกำหนด ไม่นั้น หากเราจ่ายไม่ไหว อาจจะทำให้เราเสียประวัติทางการเงินได้


คำถาม : ซื้อบ้านมานานแล้ว อยากจะตกแต่งบ้าน เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ทั้งบ้าน แต่ไม่มีเงินสด ทำอย่างไรได้บ้าง


ตอบ : อีกหนึ่งวิธีที่ทำได้คือ ขอสินเชื่อโดยการเอาบ้านไป Refinance ซึ่งจะสามารถเลือกเอาเงินที่เราผ่อนไปแล้ว ออกมาบ้างส่วนได้ เราสามารถนำเงินไปซื้อของตกแต่งบ้านได้


บทสรุป


ก็จบกันไปแล้วสำหรับบทความ “ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ บริหารงบยังไง? ตอนไหนที่กู้เงินหรือรูดบัตรได้” โดยเนื้อหาจากเทคนิคและข้อแนะนำต่างๆ ในบทความนี้ การแต่งบ้านใหม่ด้วยเฟอร์นิเจอร์สวยๆ คงไม่เกินฝันอีกต่อไป ขอแค่เราวางแผนการเงินให้ดี เลือกซื้ออย่างชาญฉลาด 


สำหรับท่านใดที่มีความสนใจในงานเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่คุณภาพพรีเมียม ดีไซน์สวยดูโมเดิร์น ที่ Taweesak Furniture มีให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย คิดจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ว่าจะดีไซน์โมเดิร์น มินิมอล วินเทจ ก็อย่าลืมนึกถึง Taweesak Furniture ตัวจริงเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม้คุณภาพระดับพรีเมียม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้